info@icons.co.th 02 810 8892-6 3.129.70.63

รถไฟฟ้า “สายสีแดง” ดีเลย์ หลังติดปัญหาสัญญา 3-ปรับแบบ PPP

Transportation News / ข่าวหมวดระบบขนส่ง

รฟท.เผยแผนทดสอบเดินรถเสมือนจริงรถไฟสายสีแดงล่าช้า หลังติดปัญหาลงนามขยายสัญญา 3 ยันเปิดให้บริการตามแผน ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีแดงสะดุด เหตุใช้โครงสร้างทางร่วมไฮสปีดเทรน เร่งปรับรูปแบบพีพีพี กระทบโครงการล่าช้า 3 ปี

กระทรวงคมนาคมมีแผนเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตปลายปี2564แต่ทำท่าไม่เป็นไปตามแผนเนื่องจากติดอุปสรรครอบด้านที่ต้องเร่งแก้ไขรายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมแผนรายละเอียดทดสอบเดินรถเสมือนจริงคาดว่าจะล่าช้า เนื่องจากติดปัญหาการขยายระยะเวลาลงนามสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ออกไป 223 วัน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์-กันยายน 2564 ปัจจุบันทีมกฎหมายอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าว คาดว่าลงนามฯได้ภายในกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ทั้งนี้ยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยมีกำหนดเปิดเดินรถเสมือนจริงภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564“จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้รฟท.งดให้บริการการเดินรถไฟสายสีแดงให้กับประชาชนไม่มีกำหนดหรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ทั้งนี้เรามองว่าหากเปิดให้บริการในกรณีที่ประชาชนใช้บริการค่อนข้างเยอะ มีความเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายและไม่อยากให้เกิดคลัสเตอร์ใหม่”รายงานข่าวจากรฟท. ระบุว่าความคืบหน้าการดำเนินการหาที่มาของการเพิ่มงบประมาณการเปลี่ยนแปลงงาน (Variation order) หรือ VO ที่มีงานก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 10,345 ล้านบาท ในโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสรุปผลการดำเนินการฯ เพื่อเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณา ส่วนแนวโน้มที่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) จะให้เงินกู้เพิ่มเติมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เนื่องจากเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารของโครงการฯ เริ่มต้นที่ 12-42 บาท เฉลี่ย 1.01 บาทต่อกิโลเมตร (กม.) ระยะทาง 41.56 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 13 สถานี ขณะที่บัตรโดยสารรถไฟสายสีแดง แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.บัตรโดยสารรายเดือน 20 เที่ยว จำนวน 700 บาท เฉลี่ย 35 บาทต่อเที่ยว 30 เที่ยว จำนวน 900 บาท เฉลี่ย 30 บาทต่อเที่ยว 50 เที่ยว จำนวน 1,250 บาท เฉลี่ย 25 บาทต่อเที่ยว 2.บัตรนักเรียน เด็กส่วนสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร (ซม.) ได้รับยกเว้นค่าโดยสาร บัตรเด็ก ลด 50% จากปกติ (อายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 91-120 เซนติเมตร) บัตรนักเรียน/นักศึกษา อายุไม่เกิน 23 ปี ลด 10% จากอัตราค่าโดยสารปกติ 3.บัตรผู้สูงอายุ ส่วนลด 50% มีทั้งบัตรสมาร์ทการ์ดและตั๋วเที่ยวสำหรับโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ที่ผ่านมา รฟท.มีเป้าหมายเปิดประกวดราคาและเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2564 รวม 3 สัญญา ประกอบด้วย ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงินโครงการ 6.57 พันล้านบาท, ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช วงเงิน 6.64 พันล้านบาท และช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท ส่วนโครงการช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ – หัวหมาก หรือที่เรียกว่า Missing Link วงเงิน 4.41 หมื่นล้านบาทเนื่องจากต้องใช้โครงสร้างทางร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) จึงเป็นโครงการที่ต้องเร่งหารือและแยกดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ทั้งนี้จากการปรับแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบพีพีพีนั้น เบื้องต้นประเมินว่าจะทำให้โครงการล่าช้าออกไปราว 3 ปี เพราะต้องเริ่มกระบวนการศึกษารูปแบบร่วมลงทุน ส่วนช่วง Missing Link ปัจจุบัน รฟท.ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) และเอกชนผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพื่อหาข้อสรุปในการลงทุนโครงสร้างทางร่วมโดยนโยบายของรัฐบาล ผู้รับเหมาโครงการที่ต้องเข้าพื้นที่ก่อนเป็นผู้ลงทุนเตรียมฐานรากไว้ให้โครงการอื่นด้วย เพราะการเดินหน้าก่อสร้างครั้งเดียว ย่อมดีกว่าการก่อสร้างหลายครั้ง เนื่องจากผลกระทบประชาชนในพื้นที่น้อยกว่า ขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าเอกชนโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะสามารถลงทุนงานโครงสร้างให้ก่อน และเมื่อได้เอกชนจากพีพีพีสายสีแดง สามารถจ่ายชดเชยกันได้หรือไม่ หรือจะมีรูปแบบอื่นเหมาะสมกว่า ด้านการขุดเจาะอุโมงค์เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีบางซื่อ วงเงิน 20 ล้านบาท เบื้องต้นได้ลงนามร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง รฟม.และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แล้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการขุดเจาะผนังทางเชื่อม จำนวน 2 จุด โดยจุดแรกจะเร่งดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้เพื่อให้ทันต่อการเปิดเดินรถเสมือนจริง และจุดที่ 2 คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อทันต่อการเปิดเดินรถเชิงพาณิชย์ภายในเดือนพฤศจิกายน 2564“ส่วนค่าใช้ในการก่อสร้างนั้น เบื้องต้นรฟม.จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปก่อน โดยรฟท.จะขอตั้งงบประมาณปี 2565 วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อชำระคืนให้ รฟม.ในภายหลัง”

10/5/2564  ฐานเศรษฐกิจ (10 พฤษภาคม 2564)

Youtube Channel