ไปแปลกใจ นับวันความหอมหวนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมใหม่ ยานยนต์อีวี ถือเป็นสปอตไลต์ดวงใหญ่ที่ฉาบฉาย
สามารถดึงดูดให้นักลงทุน ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ เข้าร่วมวง
ค่ายรถ ทั้งจีน ญี่ปุ่น ยุโรป เกาหลี เข้ามาลงหลักใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% หรือ รถ EV
เครดิตนี้ต้องยกให้บีโอไอ ที่เลือกวางกลยุทธ์ ใช้ค่ายรถจีนดึงค่ายรถต่าง ๆ เข้ามาลงทุนอีวี
ส่งผลให้ไทยมีโปรดักต์แชมเปี้ยนส์ตัวที่ 3 อย่างเด่นชัด ต่อจากปิกอัพ และอีโคคาร์
นอกจากในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะคึกคักสุด ๆ แล้ว
ในอุตสาหกรรมคู่ขนานที่ทำค้าปลีกรถยนต์ หรือดีลเลอร์ ก็พลอยร้อนแรงไม่แพ้กัน
นักลงทุนหน้าใหม่ แบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ ต่างมองหาโอกาสการลงทุน เข้าไปรวมในตลาดรถอีวีจีน
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ค่าย MG ผู้บุกเบิก
เปิดตลาดรถอีวี ในราคาที่สามารถจับต้อง-เข้าถึงได้ง่าย จุดประกายให้กับตลาดอีวีในบ้านเรา
ถัดจากนั้น เกรท วอลล์ มอเตอร์ เข้ามาช่วยสร้างความคึกคัก
พอทุกอย่างไปได้สวย บรรดาทัพรถจีนทั้ง NETA, BYD, GAC AION, Changan รวมถึง เชอรี่ ที่เตรียมส่งแบรนด์ OMODA & JACCO
ก็ดาหน้ากันเข้ามาทำตลาด เล่นเอารถจีนคึกคักเสียยิ่งกว่ารถญี่ปุ่นบางยี่ห้อ
ยอดจดทะเบียนรถอีวีล่าสุดในช่วง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค. ปี 2566) มียอดทะลุ 57,670 คัน
กลายเป็นน่านน้ำใหม่น่าสนใจยิ่ง เป็นดาวฤกษ์ที่เปล่งประกายแม้ในวันที่พระจันทร์เต็มดวง
ย่อมทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ เบนเข็มไปที่รถจีนตามไฟฟอลโลว์นำทาง
ภาพของการสวิตช์แบรนด์เกิดขึ้นทันที ซึ่งในอดีตก็ได้เห็นมาบ้างแล้ว จากทั้งแบรนด์ญี่ปุ่นหรืออเมริกัน
โดยเฉพาะในกลุ่ม second brand ที่ตลาดไม่หวือหวา นโยบายทางธุรกิจเริ่มไม่สอดคล้องรวมถึงยอดขายไม่สัมผัสกับการลงทุน
เมื่อกราฟเขียวอีวีจีนพุ่งขึ้น ดีลเลอร์รถยนต์ ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ ต่างมองหาโอกาส เข้าสู่แบรนด์รถจีน
แต่ละรายมีแผนขยายเครือข่ายกันอุตลุดภายในสิ้นปีนี้ NETA 30 แห่ง, BYD 113 แห่ง,
GAC AION ตั้งดิสทริบิวเตอร์ 4 ราย อย่างน้อยต้องมี 40 โชว์รูม,
Changan ตั้งดิสทริบิวเตอร์ 2 ราย อย่างน้อย 20 โชว์รูม
OMODA & JACCO ก็เคยลั่น 40 แห่งในปีหน้า
เมื่อน่านน้ำใหม่ถูกเปิด ย่อมหมายถึงโอกาส ขณะที่น่านน้ำเดิม อาจจะไม่มีทรัพยากรที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ตลาดจะค่อย ๆ หายไป
แต่ถ้าน่านน้ำเดิมยังคงรักษาจุดแข็ง สร้างแบรนด์ คุณภาพมาตรฐาน สินค้า บริการ
รวมทั้งมีผลิตผลที่เข้าไปสู้รบกับตลาดอีวีได้ นักลงทุน หรือดีลเลอร์ยังพึงพอใจไปกันต่อ
เพราะต้องไม่ลืมว่า ดีลเลอร์ คือ นักลงทุน หากมีสินค้าที่ขายได้มีตลาดรออยู่
ช่วงนี้เลยได้เห็นดีลเลอร์รถญี่ปุ่นหลายแบรนด์ เปลี่ยนป้าย-เปลี่ยนยี่ห้อ อุตลุด
และไม่ต้องแปลกใจเพราะคำตอบสุดท้ายของการทำธุรกิจก็คือ กำไร นั่นเอง
16/9/2566 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 16 กันยายน 2566 )