info@icons.co.th 02 810 8892-6 44.220.247.152

รุมจีบนักธุรกิจจีน ขยายลงทุนในไทย เปิดประตูสู่อาเซียน

Industrial News / ข่าวหมวดงานอุตสาหกรรม

เวทีการค้าการลงทุนไทย-จีนสุดคึก เอกชน ส.อ.ท.-หอการค้า รุมจีบ บิ๊กธุรกิจจีน ตั้งฐานผลิตในไทยเป็น gateway สู่อาเซียนตอกย้ำสัมพันธ์แน่นแฟ้น คู่ค้า-นักลงทุนอันดับ 1 กว่า 11 ปี ด้าน ธปท.หวังปั๊มรายได้นักท่องเที่ยวจีน 5 ล้านคนปีนี้ แบงก์กรุงเทพ-ICBC ย้ำความพร้อมด้านการเงิน เชื่อมโยง eec-GBA ด้าน BOI โชว์จุดขาย งัดทุกมาตรการดึงลงทุน มั่นใจทศวรรษแห่งนักลงทุนจีน

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 ในการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลก (WCEC) ครั้งที่ 16 ช่วงบ่ายในเวทีการเสวนาหัวข้อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศไทย ซึ่งมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาพธุรกิจตลาดทุนไทย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

เริ่มด้วยนายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยตั้งแต่โควิดในปีแรกเราได้รับผลกระทบ GDP ขยายตัว 1.5% พอมาปีถัดมาขยายตัว 2.6% และในปีนี้ในช่วงไตรมาสแรกขยายตัว 2.7% คาดว่าทั้งปีจะขยายตัวอยู่ประมาณ 3.6 ถึง 3.7% เป็นผลจากรายได้ของภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภายในประเทศ

“ถ้าดูแล้วประเทศไทยมีการฟื้นตัวช้ากว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นผลมาจากการท่องเที่ยว ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเป็นหลัก ในปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 29 ล้านคน เป็นจะเป็นชาวจีน 5 ล้านคน จนถึงปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาแล้ว 1.5 ล้านคน แม้จะห่างไกลเป้า แต่เราก็ยังมั่นใจว่าจนถึงสิ้นปีจะมีนักท่องเที่ยวถึง 5 ล้านคนได้ ส่วนในปีหน้าคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวรวมนักท่องเที่ยวชาวจีนทั้งหมด 35 ล้านคน”

ซึ่งการฟื้นตัวของประเทศไทยหลังจากโควิดการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ดี ในส่วนของ sme ยังต้องอาศัยมาตรการของภาครัฐในการขับเคลื่อน ขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.1% ส่วนปีนี้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 เหลือเพียง 0.5% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และเกือบต่ำที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม ระบบการเงินของไทยมีความเข้มแข็ง จะเห็นว่าในช่วงโควิดหลายประเทศมีปัญหาแต่ไทยยังคงไปได้ใครมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 1.7 เท่าของ GDP และมีสัดส่วนของหนี้ต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 40% ของ GDP เป็นหนี้ระยะสั้น ซึ่งจากตัวเลขทุนสำรองนี้ ทำให้เราคิดว่าในอนาคตไทยคงจะไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับบางประเทศที่ประสบปัญหาจากที่มีเรื่องเงินกู้จำนวนมาก และอัตราดอกเบี้ยสูง

ความท้าทาย 2 เรื่อง

นายเมธีกล่าวว่า เรื่องที่เป็นปัญหาที่มีความกังวลแต่ยังสามารถแก้ไขได้ของไทย คือปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน ซึ่งปัจจุบันไทยมีสัดส่วน 86.7% ของ GDP แต่สัดส่วนของหนี้ครัวเรือนนี้กระจายไปในระดับที่ไม่เท่ากันโดยผู้ที่มีรายได้น้อยจะประสบปัญหามากกว่าทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการแก้ไขเรื่องหนี้ครัวเรือนมาโดยตลอดในหลาย ๆ ด้าน อาทิการปรับโครงสร้างหนี้ การให้ความรู้เรื่องการเงิน เป็นต้น

อีกด้านหนึ่งเรามีความห่วงเรื่องเศรษฐกิจของในต่างประเทศที่จะชะลอตัวจากนโยบายการเงินที่จะใช้นโยบายการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อที่จะมาดูแลเงินเฟ้อ อาจจะมีผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลง

ไทยไม่มีนโยบายขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง

แต่ทว่าในส่วนของไทย ในส่วนของนโยบายการเงินของไทยไม่มีนโยบายที่จะขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรง ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยจะมาจากรายได้จากการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ ในการซื้อสินค้าคงทนสินค้ารถยนต์อสังหาริมทรัพย์

ขณะที่ภาคการส่งออกอาจจะติดลบลงต่อเนื่องโดยคาดว่าทั้งปีอาจจะลดลงเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าผันผวน เราไม่รู้ว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไรในเรื่องของนโยบายการเงินเรื่องปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ส่วนความเสี่ยงในเรื่องของการปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งถ้าเพิ่มขึ้นเร็วจะมีผลกดดันทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและอีกด้านก็จะมีผลต่ออัตราการอยู่รอดของธุรกิจ

เปิดมาตรการระยะยาว

พร้อมกันนี้นายเมธีกล่าวว่า ในระยะยาวไทยมีการดำเนินการในเรื่องของดิจิทัลโดยเฉพาะภาคธุรกิจการเงินซึ่งจะเห็นได้จากการวางระบบ payment การใช้ระบบ QR เชื่อมต่อกับสถาบันการเงินต่าง ๆ รายการจัดทำ central Bank digital currency (cbdc) ภายในและข้ามพรมแดน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความร่สมหลายประเทศ ระหว่างธนาคารกลางจีนธนาคารกลางฮ่องกง ขณะเดียวกันเราก็ได้มีการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญมากและมีการปรับปรุงกิโยตินกฎหมายที่ล้าสมัยหลาย ๆ ฉบับ

4 เหตุผลที่นักลงทุนจีนต้องมองไทย

นายหลี่ เสี่ยวป้อ นายกสมาคมการค้าวิสาหกิจจีน-ไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร ICBC กล่าวว่า การที่นักลงทุนจีนจะตัดสินใจมาลงทุนในประเทศไทยเขาก็จะมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนมีความมั่นคงในระยะยาวมากน้อยเพียงใดไทยได้ร่วมสร้างความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับจีนยาวนาน ที่ผ่านมาไทยและจีนมีการทำความตกลงอาเซียนจีนครบรอบ 20 ปี สะท้อนว่าความสัมพันธ์ของไทยจีนใช่อื่นไกลเหมือนพี่น้อง

2) ธนาคารโลกจัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนอันดับต้น ๆ ของโลกปัจจุบันเศรษฐกิจไทยฟื้นจากโควิด GDP คาดว่าจะขยายตัว 3.6 ถึง 3.7% มีทุนสำรองมากเป็นอันดับที่ 14 ของโลกมีความสามารถในการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนที่จะลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุน

3) ไทยมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ eec ซึ่งมีความสอดคล้องกับนโยบาย 1 แถม 1 เส้นทางหรือ BRI ของจีน ปัจจุบันดำเนินการมาครบ 10 ปีมีการดำเนินโครงการกว่า 3,000 โครงการ สามารถดึงดูดการลงทุนและสร้างความสัมพันธ์ 3 ใน 4 กลุ่มประเทศทั่วโลก

4) จีนมาลงทุนในไทยมีความพร้อมในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมมีความสมบูรณ์ ซึ่งไทยมีสิทธิพิเศษด้านการลงทุนให้กับนักลงทุนจีนทั้งยังช่วยให้เปิดโอกาสให้สินค้าจีนสามารถขายไปในระดับโลก โดยไทยมีความพร้อมทั้งมีนิคมอุตสาหกรรม ที่เป็นที่นิยมของจีนอย่างเช่นนิคมอุตสาหกรรมไทยจีนที่จังหวัดระยองมีบริษัทจีนเข้ามาลงทุนมากกว่า 200 บริษัทนอกจากนี้ไทยยังใช้ระบบอีคอมเมิร์ซและระบบชำระเงิน อิเล็กทรอนิกส์

และที่สำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้ไทยและจีนมีความตกลง MOU ที่จะชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่นโดยได้เริ่มตั้งแต่ปี 2021 และได้มีการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่นไปแล้ว 70,000 ล้านหยวน

จีนคู่ค้าเบอร์ 1 ต่อเนื่องยาวนาน 11 ปี

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาจีนสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจจีนจากประเทศที่เคยมีอาหารบริโภคไม่เพียงพอจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ในทุกมิติของโลก

“ไทยและจีนมีความสัมพันธ์อันยาวนานมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเมื่อ 700 ปีที่แล้วจีนให้ความช่วยเหลือไทยในด้านต่าง ๆ อย่างมาก และยังมีความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติมีคน

จีนที่ใช้แส้ เปลี่ยนมาใช้เป็นนามสกุลไทยจำนวนมาก”

ส่วนความสัมพันธ์ในด้านการค้าและการลงทุน จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของประเทศไทยต่อเนื่อง 11 ปี ปีที่แล้วไทยส่งออกสินค้าไปจีน 1.19 ล้านล้านบาทและนำเข้าสินค้าจากจีน 2.49 ล้านล้านบาทโดยไทยเสียดุลการค้าให้กับจีนอยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท แต่สินค้าที่เราเสียดุลการค้าให้กับจีนนั้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ใช้นำมาผลิตเพื่อการส่งออก ในด้านการลงทุนจีนเข้ามาลงทุนโดยมายื่นขอรับการสนับสนุนจาก boi และ eec จำนวนมาก

“ในปีที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกผลไม้โดยเฉพาะทุเรียนไปยังประเทศจีนได้เป็นจำนวนมากโดยได้รับความช่วยเหลือจากทางรัฐบาลของจีน ซึ่งการเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ก็หวังว่านักธุรกิจจีนจะมีโอกาสได้ชิม

ทุเรียนของไทยที่เป็นทุเรียนคุณภาพดีซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถส่งออกทุเรียนไปยังตลาดอื่นทั่วโลกได้”

นายสนั่นกล่าวว่าในปีที่ผ่านมาไทยจีนยังมีความร่วมมือในการจัดตั้งคณะทำงานที่เรียกว่า tarsforce โดยฝ่ายไทยให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยยูนนานของจีนเพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างความร่วมมือใน 5 ด้านร่วมกัน

ส.อ.ท.อ้อนจีนลงทุน อุตสาหกรรมเป้าหมาย เชื่อมโยงนโยบาย China 2025

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่ ทั่วโลกเผชิญความท้าทายจากหลายๆปัจจัยโดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (digital.transformation) ลูกเคยพูดถึงเรื่อง

ของโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization แต่ตอนหลังก็เปลี่ยนมาเป็น De Globalization การเกิดการเคลื่อนย้ายซัพพลายเชนของทั่วโลก

ทั้งยังมาเจอกันแพร่ระบาดของโควิดปัญหาสงครามการค้าและสงครามระหว่างรัสเซียยูเครนที่ทำให้ราคาพลังงานและวัตถุดิบกับตัวสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดเงินเฟ้อกระทั่งหลาย ๆ ประเทศต้องใช้นโยบายทางการเงินด้วยการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อกดดันเงินเฟ้อและก็นำมาสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและสุดท้ายทั่วโลกอย่างต้องเผชิญกับปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีก

ขณะที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทาย 2 เรื่องในขณะนี้คือไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยประชากรทั้งหมด 67 ล้านคนแต่ในปี 2565 มีอัตราถึงเด็กเกิดใหม่ต่ำกว่าอัตราผู้เสียชีวิตซึ่งหากยังเป็นอย่างนี้ต่อเนื่อง คนไทยจะเข้าสู่ภาวะสังคมสูงวัยที่มีจำนวนคนแก่มากขึ้นและจำนวนประชากรจะลดลงเหลือ 33 ล้านคนในปี 2085

2) ไทยติดกับดักประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางส่งผลให้จะต้องเร่งเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ

ซึ่งปัจจุบันอุตสาหกรรมของประเทศไทยนะใน สทท.แบ่งเป็น 45 กลุ่มรวมทั้งหมด 11 คลัสเตอร์ ซึ่งยุทธศาสตร์ของ ส.อ.ท.ได้มีการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คืออุตสาหกรรมที่มีการพัฒนามาก่อนหน้านี้ (first industry) และอุตสาหกรรมที่เรียกว่าอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next Gen Industry) ซึ่งในกลุ่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อยคืออุตสาหกรรม s curve อุตสาหกรรม BCG และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ climate change

“ในการประชุมครั้งนี้เรามุ่งหวังว่าจะสามารถดึงดูดนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนใน 6 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของเราทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 5G พลังงานหมุนเวียน automation และ biotechnology โดยในส่วนของ ส.อ.ท.ได้มีการจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างไทยจีน (TCEII) ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนไทยจีน โดยเราหวังว่าในอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายนโยบาย China 2025 ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไฮเทคสอดคล้องกันกับเรา จะมี partner ที่มาร่วมสร้างและพัฒนาทักษะแรงงาน อุตสาหกรรมร่วมกัน”

แบงก์กรุงเทพย้ำสัมพันธ์ไทยจีนแน่นแฟ้น

นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า ไทยและจีนเป็นคู่ค้าที่มีความสัมพันธ์อันยาวนาน โดยจีน

เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมายาวนานถึง 11 ปีมีมูลค่าการค้าร่วมกัน 3.9 ล้านล้านบาท และจีนยังเป็นประเทศที่มีนักธุรกิจมาลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดเพิ่มขึ้นถึง 30% จากปีก่อนหน้านอกจากนี้ยังมีความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมต่างๆร่วมกัน

“ไทยมีการขับเคลื่อนนโยบาย eec เชื่อมโยงกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกวางตุ้งฮ่องกงมาเก๊า (GBA)ซึ่งไทยก็นับว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ไทยเป็นประตูที่สามารถเชื่อมโยงสู่อาเซียนหากจีนและไทยร่วมมือกันจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ให้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็วอีกมาก เช่น ในด้านการขนส่ง และไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพการใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจจีนที่ต้องการจะสร้างฐานผลิตให้ขยายไปทั่วโลกโดยปัจจุบันนี้ไทยได้มีการเปิดประเทศ 100% แล้วหลังจากโควิดและยังมีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมใน sector ใหม่ ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ eec”

ในส่วนของธนาคารกรุงเทพได้ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับจีนตั้งแต่สมัยคุณปู่ ชิน โสภณพนิช ได้ไปตั้งสาขาของธนาคารกรุงเทพที่ฮ่องกงในปี 1954 และเป็นธนาคารแห่งแรกที่ไปเปิดสาขาที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ในเวลาต่อมา ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับสำนักงานใหญ่ธุรกิจเราเกี่ยวข้องกับคนจีนเยอะและมีความเหมือนกันในหลายด้าน

สุดท้ายได้เน้นย้ำว่าจีนฮ่องกงมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับไทยไทยพร้อมที่จะเป็นสปริงบอร์ดเป็นเกตเวย์ให้กับจีนในการขยายการค้าการลงทุนไปสู่อาเซียน

BOI ชูจุดแข็งดึงนักลงทุนจีน

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่ดีที่สุดของจีนในอาเซียน โดยไทยมีจุดแข็งจากการเป็นศูนย์กลางของประเทศในอาเซียนสามารถเป็นสปริงบอร์ดให้กับจีน ใครมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน eec ที่มีความสมบูรณ์ ทั้ง ท่าเรือ สนามบิน ถนนและนิคมอุตสาหกรรม

เพียงเท่านั้นไทยยังมีความพร้อมในด้านซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ไฟฟ้าไทยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง boi มีสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุนจากการที่เรามีการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ที่มีการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด 9 ด้าน

นอกจากนี้ไทยยังสามารถตอบโจทย์การลงทุนของอุตสาหกรรมที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพราะไทยมีการส่งเสริมอุตสาหกรรม BCG และมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เพียงพอสามารถจัดหาพลังงานหมุนเวียนรองรับนักลงทุนได้

และที่เป็นไฮไลต์อย่างยิ่งคือเรื่องของความปลอดภัย (safety) และยืดหยุ่น (resilience) โดยเฉพาะในสภาวะของโรคที่มีความขัดแย้งไทยนับได้ว่าเป็นแหล่งลงทุนที่ปราศจากความขัดแย้ง (conflict free zone) ลงทุนมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยและสามารถส่งออกไปทั่วโลกได้โดย ไทยเป็นประเทศที่ไม่มีความขัดแย้งและไม่มีปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติต่างๆที่รุนแรง

“99% ของนักลงทุนจีนที่มาลงทุนในประเทศไทยประสบความสำเร็จเพราะเรามีความเข้าใจนักลงทุน”

นอกจากนี้ไทยยังมีความพร้อมสำหรับใช้เป็นฐานผลิตเพื่อใช้ประโยชน์จากการทำความตกลงเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ปัจจุบันมีถึง 14 ฉบับรวม 18 ประเทศและในอนาคตจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์จะมีการขยายการทำความตกลงถึง 20 ฉบับรวม 53 ประเทศ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า

สถานะการลงทุนล่าสุด

นายนฤตม์กล่าวว่า ในทศวรรษน่าจะเป็นทศวรรษที่มีการลงทุนจากนักลงทุนจีนเข้ามาในไทยเติบโตมากที่สุด โดยยังเชื่อว่าฐานการลงทุนของจีนที่นอกประเทศน่าจะเป็นประเทศไทยปัจจุบันในช่วงไตรมาส 1 มีนักลงทุนจีนที่ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยแล้วหลายราย โดยเฉพาะนักลงทุนในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเช่น ฉางอันและอีกรายที่ตัดสินใจลงทุนล่าสุด

“อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีนโยบายสนับสนุนคือนโยบาย 30@30 มีเป้าหมายว่าภายในปี 2030 จะมีการผลิตรถยนต์ ZEV 30% จากการผลิตรถยนต์ทั้งหมดและมีการให้สิทธิประโยชน์ทั้งในด้านของ demand และซัพพลายมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในงานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ผ่านมามียอดจองรถ EV 42,000 คันซึ่งในจำนวนนี้เป็นรถ EV ของค่ายจีนทั้ง 4 ค่ายที่เข้ามาลงทุนในไทยคิดเป็น 1 ใน 4 ของยอดจองทั้งหมด”

ขณะที่นโยบายการส่งเสริมเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งไทยมุ่งส่งเสริมทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ เช่นเดียวกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลซึ่งปัจจุบันมี

นักลงทุนจีนที่เข้ามาลงทุนหลายรายไม่ว่าจะเป็น huawei alibaba และ tensen โดยไทยมีมาตรการส่งเสริมไม่ใช่แค่การลงทุนซอฟต์แวร์แต่ยังรวมไปถึงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น data center นอกจากนี้ boi ยังมีมาตรการส่งเสริมเรื่องลองเทอมเรสซิเดนซ์วีซ่า (LTV) ให้ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้นานขึ้น

สำหรับภาพรวมขอรับส่งเสริมการลงทุนจากจีน มีจำนวน 38 โครงการมูลค่าการลงทุน 25,000 ล้านบาท จากปี 2565 ที่มียอดการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากจีน 158 โครงการมูลค่าการลงทุน 77,381 ล้านบาท

25/6/2566  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 25 มิถุนายน 2566 )

Youtube Channel