info@icons.co.th 02 810 8892-6 44.220.247.152

PD รีโมเดลธุรกิจ ทำคลังสินค้าสั่งตัดเจาะผู้เช่ารายใหญ่ ลงทุนเพิ่มวังน้อย-EEC

Residential News / ข่าวหมวดที่พักอาศัย

PD-พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ ในเครือมั่นคงเคหะการ เปิดตัวบางกอกฟรีเทรดโซน 7 (BFTZ 7) บางนา-ตราด กม.10 พื้นที่เช่า 36,000 ตร.ม. ตั้งเป้า 5 ปี เพิ่มพื้นที่เช่าเป็น 2 ล้าน ตร.ม. ตั้งงบฯลงทุนเพิ่ม 10,000 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 2,000 ล้าน รับดีมานด์ลูกค้าต่างชาติ โชว์ครึ่งปีแรก ยอดเช่าทะลัก 100,000 ตร.ม.

วันที่ 11 มิถุนายน 2566 นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้พัฒนาและบริหาร “โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน” (BFTZ-Bangkok Free Trade Zone)

กล่าวว่า สถานการณ์โควิดเป็นต้นมา มีดีมานด์เช่าคลังสินค้าและโรงงานสูงขึ้น โดยเฉพาะทำเลยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ดูจากอัตราเช่าเฉลี่ยของ BFTZ อยู่ที่ 85.88%อ ที่ผ่านมา บริษัทลงทุน BFTZ 1 ถนนบางนา-ตราด กม.23, BFTZ 2 ถนนเทพารักษ์ และ BFTZ 3 ถนนบางนา-ตราด กม.19 ซึ่งเปิดตัวในปี 2565 ไปแล้ว

โดยโมเดลการพัฒนาอาคารแบบเดิมซึ่งเริ่มต้นจากที่ดินเปล่า โครงการล่าสุด BFTZ 7 พัฒนาภายใต้โมเดลใหม่ ด้วยการรีโนเวตอาคารคลังสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ตอบโจทย์ภายในเวลาอันสั้น

3_ยกระดับกลยุทธ์ มากกว่าพื้นที่ More Than Just Space

รองรับธุรกิจที่หลากหลายในทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มใช้งานอาคารในระยะยาว

ล่าสุด โครงการ BFTZ 7 มีผู้เช่ารายใหญ่ คือ บริษัท นิ่มเอ็กซ์เพรส จำกัด บริษัทโลจิกสติกส์ชั้นนำของไทย ที่ต้องการขยายธุรกิจ และยกระดับมาตรฐานอาคารสำหรับกระจายสินค้า

สอดคล้องกับสถานการณ์การเติบโตของตลาดโลจิสติกส์ไทย โดยมีข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ในปี 2565 มีมูลค่าทุนจดทะเบียนสะสม 419,720.39 ล้านบาท

ประกอบกับข้อมูลอัตราเช่าเฉลี่ยของ BFTZ ใน 6 โครงการเดิม เริ่มเห็นเทรนด์ผู้เช่าที่เปลี่ยนแปลงไปหลังยุคโควิด เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจรีไซเคิล, โซลาร์เซลล์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรถยนต์อีวี ฯลฯ

รีโมเดลธุรกิจ ทำคลังสินค้าสั่งตัด-Ready Built-to-Suit

สำหรับกลยุทธ์การแข่งขันนับจากนี้เป็นต้นไป บริษัทนำเสนอบริการคลังสินค้าให้เช่าแบบ Ready Built-to-Suit โดยออกแบบและก่อสร้างภายใต้ความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า คาดว่าจะมีผู้เช่ารายใหม่ 150,000 ตร.ม.

ทั้งนี้ PD มีพื้นที่เช่าในโครงการ BFTZ 3 ถนนบางนา-ตราด กม.19 และ BFTZ 5 วังน้อย ซึ่งพัฒนาเสร็จเต็มพื้นที่พร้อมส่งมอบทันที ตอบโจทย์ความต้องการใช้พื้นที่อาคารคลังสินค้าและโรงงานของลูกค้าต่างชาติ

รวมถึงกลยุทธ์ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาอาคารเฉพาะทาง เช่น คลังสินค้าวัตถุอันตราย (DG Warehouse) ใน BFTZ 3 บนพื้นที่เขตปลอดอากร (Free Zone) หนึ่งเดียวย่านบางนา-ตราด

ส่วนแผนเพิ่มผู้เช่ารายใหม่ 150,000 ตร.ม. นำมาสู่การรีโมเดลแผนธุรกิจในปีนี้ เพื่อสามารถรองรับการเติบโตในทำเลศักยภาพแห่งอนาคต

ประกอบด้วยการอัพเกรดโครงการ BFTZ 4 บางปะกง, BFTZ 6 ถนนบางนา-ตราด กม.19, BFTZ 7 ถนนบางนา-ตราด กม.10 ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จพร้อมให้บริการในปี 2566-2567

“เรื่องใหม่ในปีนี้ บริษัทยกระดับกลยุทธ์นำเสนอมากกว่าพื้นที่ แต่ส่งมอบความยืดหยุ่นทั้งด้านการบริการและการใช้งานอาคารครบทุกมิติ ผ่านอาคารรูปแบบ Ready Built-to-Suit

ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าแต่ละอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะตัว จุดโฟกัสกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นผู้เช่าระยะยาว ทำสัญญาเช่าขนาดใหญ่ 10,000 ตร.ม.ขึ้นไป”

โครงการ BFTZ 7 บางนา-ตราด กม.10

ปักหมุดลงทุนเพิ่มที่ “วังน้อย-EEC”

นางสาวรัชนีกล่าวว่า การเปิดประเทศเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังยุคโควิด ทำให้มีดีมานด์เช่าคลังสินค้าและโลจิสติกส์เติบโตเป็นอย่างมาก รวมทั้งนโยบายรัฐที่ต้องการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี)

ผลักดันให้ PD ประสบความสำเร็จเร็วกว่าแผนที่วางไว้ จากเดิมคาดว่าจะมีผู้เช่า 1 ล้าน ตร.ม.ในปี 2567 แต่ทำได้สำเร็จในปีนี้ เป้าหมายต่อไปคือจะเพิ่มพื้นที่เช่าเป็น 2 ล้าน ตร.ม.ภายในปี 2571

“ธุรกิจในยุค new normal ไม่รอให้ถูก Disrupt แล้วแก้ไขสถานการณ์ แต่ต้อง Proactive พร้อมปรับตัวและเตรียมรับมือกับความผันผวนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

PD มองว่า 3 ตัวแปรหลัก ได้แก่ ทำเลศักยภาพ คุณภาพอาคารและการบริการ ความเชื่อมั่นในประสบการณ์ของผู้พัฒนาโครงการ คือ สิ่งที่นักลงทุนตัดสินใจเลือกโครงการ

โดย PD ปรับเป้าลงทุนใหม่ มองหาโอกาสพัฒนาโครงการบนแลนด์แบงก์ที่มีในมือ อย่างน้อย 2 จุดหลัก ที่อำเภอวังน้อย กับโซน EEC ที่แหลมฉบัง”

26-28 มิ.ย. นี้ ออกหุ้นกู้ 700 ล้าน อายุ 2 ปี ดอกเบี้ย 6.7%

จากการปรับแผนลงทุน New Goal ดังกล่าว บริษัทต้องระดมทุนเพื่อนำมาใช้ลงทุนขยายธุรกิจ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์

วิธีการ เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งที่ 2/2566 อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ (คาดว่า) 6.70% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ระยะเวลาเสนอขายวันที่ 26-28 มิ.ย. 2566 ราคาเสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท

จำนวนของหุ้นกู้ที่เสนอขายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 700,000 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 700 ล้านบาท เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่

โดยมีผู้จัดการการจำหน่ายหลักทรัพย์ ได้แก่ บลจ.ฟินันเซีย ไซรัส, บลจ.บลูเบลล์, บลจ.เคจีไอ ประเทศไทย และ บล.โกลเบล็ก

11/6/2566  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 11 มิถุนายน 2566 )

Youtube Channel