info@icons.co.th 02 810 8892-6 3.144.4.50

เศรษฐา เปิดตัวโรงแรมใหญ่สุดแห่งปี เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร

Hotel News / ข่าวหมวดโรงแรม

เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร ใน คิง เพาเวอร์ มหานคร ยอดเข้าพักพุ่งยันมกราคม จัดแกรนด์โอเพนนิ่งอลังการ 14 ธ.ค. 2565 “เศรษฐา” ชี้ท่องเที่ยวปีหน้าบูม

วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เศรษฐา ทวีสิน ในฐานะประธานกรรมการ สแตนดาร์ด อินเตอร์เนชั่นเนล แถลงถึงความคืบหน้าภาคธุรกิจโรงแรม และที่พักของ สแตนดาร์ด อินเตอร์เนชั่นเนล นับจากปีก่อนที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดถึง 128% ด้วยโครงการต่าง ๆ มาถึงปีนี้ การเติบโตยังสูงต่อเนื่องถึง 48% โดยได้จากความแข็งแกร่งของกลุ่มโรงแรมทั้ง 3 แบรนด์ ได้แก่ The Standard, Bunkhouse และ The Peri

เศรษฐากล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มแสนสิริเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 62% ของสแตนดาร์ด อินเตอร์เนชั่นเนล มูลค่าประมาณ 4 พันล้านบาท ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนหุ้นเท่าไรนัก เพราะธุรกิจยังดีอยู่ แต่ถ้ามีโอกาสที่ดีและทำให้โรงแรมหรือเชนโรงแรมใหญ่ขึ้นได้ก็พร้อมทำ

เดอะ สแตนดาร์ด มีโรงแรมอยู่ 8 แห่งทั่วโลก และกำลังขายเพิ่มอีก 12 โรงแรมในปี 2026 ซึ่งจะเริ่มทยอยเปิดในเมลเบิร์น (ออสเตรเลีย) สิงคโปร์ บรัสเซลส์ (เบลเยียม) ดับลิน (ไอร์แลนด์) และลิสบอน (โปรตุเกส)

การที่แสนสิริเข้ามาขยายการลงทุนในธุรกิจโรงแรม เพราะมีรายได้ที่สม่ำเสมอ (Recurring income) เนื่องจากการทำธุรกิจของแสนสิริเป็นการซื้อมาขายไป บางปีกำไรมาก บางปีน้อย การมีรายได้ที่สม่ำเสมอจะทำให้งบดุลเราดูดีขึ้น

“รายได้ตรงนี้เป็นเพียง 10% ของรายได้ทั้งหมดของแสนสิริ แต่หวังว่าในอนาคตจะขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเติบโตของบริษัทด้วย ถ้าแสนสิริโตมากในอนาคต Recurring income ตรงนี้ก็อาจจะยังไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งเราอยากจะโฟกัสตรงนี้ แต่ก็ต้องดูเรื่องวินัยการเงิน เพราะทำตรงนี้ทุนจะสูงขึ้น” บิ๊กบอสแสนสิริกล่าว

สำหรับ The Standard Bangkok Mahanakhon (เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร) ที่จะมีแกรนด์โอเพนนิ่งวันที่ 14 ธ.ค.นี้ เป็นโรงแรมแฟลกชิพแห่งแรกในเอเชีย ที่กรุงเทพมหานครมาพร้อมห้องพัก 155 ห้อง ใจกลางเมืองบนตึกมหานคร ตั้งแต่ขนาด 40 ตารางเมตรจนถึงห้องเพนท์เฮาส์ขนาด 144 ตารางเมตร

เศรษฐากล่าวว่า performance ของโรงแรมแต่ละเซ็กเมนต์ ถ้าไม่นับช่วงโควิดที่ผ่านมา ตอนนี้ดีหมด มีแค่ดีน้อยหรือดีมากเท่านั้น ที่ดีที่สุดคือ เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร ไม่ว่าจะเป็นอัตรการเข้าพัก (occupancy rate) การจองร้านอาหารที่ต้องจองข้ามเดือน โดยขายห้องได้ราคาเฉลี่ยตั้งแต่เปิดบริการเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565 ที่ 6,900 บาท ต่อคืน (YTD ADR) และอัตราการจองที่พักของเดือนธันวาคมอยู่ที่ 87% และเดือนมกราคม ปี 2566 อยู่ที่ 70%

ทั้งนี้ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นเดือนตุลาคมถึงปัจจุบันประสบความสำเร็จสูงกว่างบประมาณที่ลงทุนไปถึง 149.4% รายได้ห้องพักรายวันขายได้ยังสูงกว่าต้นทุน 22.3% และอัตราการจองสูงกว่า 23%

สัดส่วนรายได้ของเดอะ สแตนดาร์ด ทั่วโลก อัตราห้องพักและร้านอาหารอยู่ที่ 50-50% ทำให้เราเห็นว่ารายได้จากบาร์ ร้านอาหาร และอีเวนต์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเดอะ สแตนดาร์ด มหานคร มีตัวเลขที่มากกว่านั้นด้วยซ้ำ ข้อได้เปรียบคือเราไม่ต้องพึ่งคนที่เข้าพักในโรงแรมมากนัก ทำให้เราสามารถบริหารจัดการได้

ตอนนี้เราเป็นเจ้าของที่เดียวคือ เดอะ สแตนดาร์ด หัวหิน ที่เหลือรวมทั้ง บังก์เฮาส์ และเภรี เป็นการรับบริหาร ส่วนที่วางแผนไว้ว่าจะบริหารคือที่ พัทยา ภูเก็ต สมุย และเชียงใหม่

เวลาเราทำโรงแรม ของเราไม่มีแบรนด์บุ๊กให้ แบบนั้นทุกที่จะเหมือนกันหมดไม่ว่าโรงแรมอยู่ที่ไหน แต่เราเลือกใช้ดีไซเนอร์จากท้องถิ่น เชฟจากต่างประเทศ วัสดุจากที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น แม้จะใช้เวลานานกว่าแต่เป็นสิ่งที่มีชิ้นเดียว เป็นความภาคภูมิใจ

ส่วนตัวมองว่าธุรกิจโรงแรมไม่ได้มีปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย และไม่เห็นด้วยกับคำพูดดังกล่าวเท่าไรนัก ถ้าเป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ เน้นไลฟ์สไตล์ มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง สิ่งนั้นไม่ใช่ปัญหา

สำหรับงานเปิดตัว grand opening เดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร วันที่ 14 ธ.ค. 65 บอสเศรษฐากล่าวว่า คาดหวังให้เป็น การเปิดตัวโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งปี (biggest opening hotel of the year) ของโลก ไม่ใช่แค่ในไทยเท่านั้น เราและคุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์) ตั้งใจอย่างเต็มที่และอยากให้เป็นความภาคภูมิใจของประเทศ

การบริหารโรงแรม ไม่ใช่แค่ดูเรื่องผลตอบแทน ในฐานะที่เป็นประธานของเดอะ สแตนดาร์ด ที่รับบริหารจัดการโรงแรมให้กับเจ้าของ ความภาคภูมิใจของเขาเราถือว่าเป็นความหมายสูงสุด

มองเทรนด์การท่องเที่ยวปีหน้า

เมื่อถามถึงเทรนด์ท่องเที่ยวปี 2566 เศรษฐากล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะดีขึ้นมาก ทั้งโลกและในไทย เนื่องจากคนอั้นมา 2-3 ปี ตอนนี้สายการบินก็กลับมาให้บริการในหลายเส้นทางเพิ่มขึ้น และการระบาดของโควิด-19 ก็คลี่คลายลง แม้จะไม่หมดไป แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกับมันได้

ปัจจัยสำคัญคือเศรษฐกิจโลก ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งหมดไม่ว่าจะในระดับใดก็จะกลับมาคึกคัก ในส่วนของระดับไฮเอนด์ก็จ่ายกันหนักและมาเยอะอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจุดนี้ได้ดี

ทุกวันนี้คนให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในการเดินทางมากขึ้น สมัยนี้เปลี่ยนไปแล้ว คนมีกำลังซื้อในสมัยก่อนอาจเลือกซื้อบ้านหรือสะสมนาฬิกา แต่ในสมัยนี้สนใจสิ่งเหล่านั้นน้อยลง

แต่เปลี่ยนไปเป็นการท่องโลกกว้างมากขึ้น เพื่อเรียนรู้ถึงสังคม และวัฒนธรรมในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ใช่แค่เมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก ปารีส แต่รวมไปถึงแอฟริกาด้วย หรือในประเทศดัง ๆ ก็เลือกไปเมืองรองและชนบท เพื่อค้นหามนต์เสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น

เรามักสนใจเรื่องตัวเลข ว่าต่อปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศกี่คน การจราจรในสนามบินเป็นอย่างไร เช่น ปีหน้าคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวสูงสุด 40 ล้านคน ต้องการให้สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้เดินทางเดือนธันวาคม 2565 นี้ 1.2 แสนคน เป็นต้น

ส่วนตัวมองว่าไม่จำเป็นต้องให้ได้ตามตัวเลขนั้น แต่ขอให้นักท่องเที่ยวที่มานั้นอยู่ยาว ๆ และไปในหลากหลายสถานที่ ไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองใหญ่ อยากให้กระจายไปหลาย ๆ เมือง ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็ไม่ต้องขยายสนามบิน ไม่ต้องเพิ่มภาระให้ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม

ผู้ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องเป็นรัฐบาล ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างเดียวไม่พอ ต้องร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ทั้งในเรื่องของวีซ่า การบริหารจัดการสนามบิน ไม่ใช่เอาแต่รับคนเข้ามาแล้วนักท่องเที่ยวต้องมาติดขั้นตอนที่สนามบินหลายชั่วโมง

รัฐบาลต้องให้ความสำคัญจุดนี้ เนื่องจากมูลค่าการท่องเที่ยวคิดเป็นเกือบ 20% ของ GDP แล้ว ถือเป็นสิ่งที่ต้องจับตามอง

“หากถามว่านักท่องเที่ยวคือใคร เรามีกลุ่มเป้าหมายและจุดเด่นเดิมอยู่แล้ว คือ คนที่มาท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญ อย่างกร

9/12/2565  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 9 ธันวาคม 2565)

ช่องยูทูปของ iCONS