info@icons.co.th 02 810 8892-6 18.117.105.14

3 คำถาม ESG “วัน แบงค็อก” เมืองมิกซ์ยูสแสนล้าน เมืองที่ใช้ใจสร้าง

Residential News / ข่าวหมวดที่พักอาศัย

เกาะขอบเวที TMA (สมาคมการจัดการแห่งประเทศไทย) จัดบิ๊กอีเวนต์ครบรอบ 60 ปี ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

หนึ่งในไฮไลต์เป็นช่วง “จับเข่าคุย” หรือ Fireside Chat โดยมี “ปณต สิริวัฒนภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ FPL ร่วมแชร์มุมมอง ผ่านการตอบ 3 คำถามในแง่มุมของการพัฒนาโครงการระดับแสนล้านบาท ที่ไม่ใช่แค่ใหญ่ด้วยขนาด แต่เป็นโครงการที่มีจุดเน้นให้เป็นโมเดลต้นแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ยั่งยืน

คำถามที่ 1 จะบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือนวัตกรรมใหม่ กับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ อย่างไร คุณปณตมีส่วนช่วยในเรื่องบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนอย่างไร

สำหรับเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่นับเป็นหนึ่งในเซ็กเตอร์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นโอโซน โดยสถิติทั่วโลกการก่อสร้างโครงการส่งผลกระทบปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย

ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งสำคัญอย่างมากในแผนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท ซึ่งเราจำเป็นต้องเขียนแนวทางขับเคลื่อน วิเคราะห์และนำมาปรับให้เหมาะสมที่สุดในการปฏิบัติงานของเรา

ทั้งหมดเริ่มจากการร่วมกันทำงานและการเป็นหุ้นส่วนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยเช่นกัน ในกรณีนี้คือ หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ กล่าวคือการร่วมกันทำงานระหว่างวัน แบงค็อก, เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และเอสซีจี เราสร้างนวัตกรรมในบิลด์ฟอร์มหรือการก่อสร้างฐานราก ผ่านทางดาต้าและนวัตกรรม

โดยในส่วนของเอสซีจีใช้เวลา 2-3 ปีในการพัฒนาร่วมกัน เพื่อพัฒนาสูตรใหม่สำหรับคอนกรีตความร้อนต่ำ (Low Heat Concrete) จนถึงวันนี้ทำให้เราเป็นผู้วางรากฐานรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอสซีจีในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เชื่อมโยงโรงงานซีเมนต์ทั่วกรุงเทพฯ ผ่านการทำงานของจีพีเอส ทำให้เราสามารถรับประกันความสำเร็จในบิลด์ฟอร์มได้ ซึ่งถือเป็นการสร้างโอกาสในเวทีระดับภูมิภาคด้วย

เรามีโอเปอเรชั่นในการเทฐานรากคอนกรีตเป็นเวลา 30 วัน มีขนาด 100 สระว่ายน้ำโอลิมปิก เกิดเป็นการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากของตึกซิกเนเจอร์โครงการวัน แบงค็อกเฟส 2

ผมคิดว่า ผ่านการทำงานร่วมกัน หรือการคอลแลบส์ระหว่างเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ และเอสซีจี และคิดไปด้วยกันว่าเรามีนวัตกรรมอะไรบ้าง ทำให้เราสามารถใช้เวสต์จากคอนกรีตในบิลด์ฟอร์ม จึงร่วมกับเอสซีจีเพื่อรีไซเคิล และสร้างเป็นคอนกรีตพรีแฟบสำหรับงานก่อสร้างในหลากหลายวัตถุประสงค์

ส่งผลให้ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมีนัยสำคัญในระยะแรก และในมุมของผม ถือเป็นการสร้างตึกคอนกรีตที่ยั่งยืนแห่งแรกขึ้นในใจกลางกรุงเทพฯ จนปัจจุบัน

ดังนั้น นวัตกรรม และความอัจฉริยะและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญ เรามองว่า ส่วนหนึ่งของการคิดถึงการสร้างเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานสนับสนุน

นับเป็นความสำเร็จทางด้านคุณสมบัติของอาคารยุคใหม่ในปัจจุบันที่สามารถรองรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา และยังพิสูจน์ได้ว่าเป็นโครงการที่มีระบบเชื่อมต่อดิจิทัลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน รองรับการใช้งานได้ในทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณอินเทอร์เน็ตมือถือ การเชื่อมต่อ Wi-Fi ตลอดจนการใช้ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย

อาทิ ระบบเซ็นเซอร์กว่า 250,000 ตัว กล้องวงจรปิดกว่า 5,000 ตัว พร้อมระบบการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อความปลอดภัยสูงสุด รวมถึงการควบคุมการจราจรภายในโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนั้น ยังมี Smart Poles เสาไฟอัจฉริยะที่ให้แสงสว่างและส่งสัญญาณ Wi-Fi ความเร็วสูงครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ภายในโครงการ ผู้ใช้อาคารจึงสามารถมั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพและความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ทมือถือและ การเชื่อมต่อ Wi-Fi อย่างไร้ขีดจำกัด

อาคารสำนักงานทั้งหมดของ วัน แบงค็อก จึงมีความพร้อมรองรับการใช้งานในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ ในการมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับผู้ใช้อาคาร ตลอดจนมีมาตรฐานสูงสุดในด้านการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้ใช้อาคารอย่างยั่งยืน

ปณต สิริวัฒนภักดี

คำถามที่ 2 อะไรคือเทรนด์ของความยั่งยืนในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

ผมสร้างโครงการวัน แบงค็อก โดยไม่ได้นึกถึงเทรนด์แค่ในกรุงเทพมหานคร แต่จริง ๆ แล้วผมมองไปที่เทรนด์ในระดับภูมิภาค ไปจนถึงเทรนด์ที่ถูกกำหนดขึ้นในระดับโลก

และได้เห็นเทรนด์ของความยั่งยืนในระดับโลกในการช่วยเราในแง่ของการลงทุน เราออกไปลงทุนในระดับโลกใน 21 ประเทศ มีหลายประเภทตั้งแต่อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าการบริการ ค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรม โลจิสติกส์

เราดูวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 หรือปี พ.ศ. 2593 และเราได้ตั้งเป้าหมายที่อยู่บนขนาดด้วย เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งเรื่องการพัฒนาคุณภาพ มุมมองเรื่องพื้นที่ให้มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายความยั่งยืนมากขึ้น

ทำให้ความท้าทายในมุมมองของผม คือ วิธีที่เราพัฒนาโครงการในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทรัพย์สินมากขึ้น กล่าวคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราสามารถบริหารจัดการโครงการแบบผสมผสาน หรือมิกซ์ยูส

ในบริบทที่เทรนด์ใหญ่ในขณะนี้ คือ การพัฒนาเมืองต้องมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และสามารถรับประกันได้ว่า เราปฏิบัติงานในระดับที่ถูกต้อง ตั้งแต่ระดับบิลด์ฟอร์มไปจนถึงโอเปอเรชันนอลฟอร์ม เพื่อให้ไปตอบโจทย์คุณภาพชีวิตในท้ายที่สุดแล้ว

คำถามที่ 3 ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในส่วนของบริษัทหลากหลายประเภท ผู้คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันได้อย่างไร

ถือเป็นส่วนที่ยากที่สุดของทุกเซ็กเตอร์ แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นยิ่งยากกว่า เพราะมีห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเราต้องทำงานร่วมกันและต้องทำร่วมกับหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ การคอลลาบอเรชั่น

ยกตัวอย่าง ในส่วนของบิลด์ฟอร์มกับเอสซีจี เราเชื่อว่าไทยต้องเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ดีกว่า จนกระทั่งได้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วน นวัตกรรม เทคโนโลยีตามที่กำหนดเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ดีขึ้น ซึ่งผมก็ยังถือเป็นความท้าทายอยู่ดี

และที่เหลือเป็นเรื่องของผู้ควบคุมกฎระเบียบ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่จะสร้างพื้นที่สำหรับทุกคน ที่จะได้รับคำปรึกษาและแนะนำอย่างครอบคลุม

ปัจจุบันผมมองว่า เราต้องมีความเข้าใจในการเอาชนะยุทธศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ คือเราจะทำให้ความเป็นท้องถิ่นเกิดขึ้น พัฒนาไมนด์เซต คุณภาพสินค้า และพัฒนาความเข้าใจการใช้พื้นที่อย่างไรด้วยเช่นกัน

ดังนั้น เหนือสิ่งอื่นใด ในมุมมองของผม ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับคนที่จะขับเคลื่อนอนาคต ไมนด์เซตที่จะกำหนดอนาคตที่ดีกว่าสำหรับเราทุกคน

22/9/2567  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 22 กันยายน 2567 )

ช่องยูทูปของ iCONS