info@icons.co.th 02 810 8892-6 3.139.70.69

ลุ้นบอร์ดพีพีพีไฟเขียว มอเตอร์เวย์ 2 สาย 1.09 แสนล้าน

Transportation News / ข่าวหมวดระบบขนส่ง

ทล.เล็งชงบอร์ดพีพีพีเคาะสร้างมอเตอร์เวย์ วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันตก-ต่อขยายดอนเมืองโทรลเวย์ 1.09 แสนล้านบาท เผยคืบหน้าแผนเปิดประมูล PPP สัมปทาน 30 ปี ดึงเอกชนร่วมทุน

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการทาง หลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์ เวย์) สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก ระยะทาง 70 กิโล เมตร (กม.) วงเงินลงทุน 79,060 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน ระยะทาง 32 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 23,025 ล้านบาท และช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 56,035 ล้านบาท ขณะนี้กรมฯได้ศึกษาความเหมาะสม และการออกแบบรายละเอียดของโครงการฯ (FS) และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้ง 2 ช่วงแล้วเสร็จ ซึ่งผ่านการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว

ทั้งนี้ปัจจุบันกรมฯได้เสนอผลการศึกษารูปแบบการลงทุนช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เบื้องต้นทราบว่าทางกระทรวงได้ส่งรายละเอียดผลการศึกษาให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณารูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ดพีพีพี) พิจารณาต่อไป คาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกาศประกวดราคาได้ภายในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565 และรายงานผลการคัด เลือกเอกชนร่วมลงทุนต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงปลายปี 2565 โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดเปิดให้บริการปี 2569

สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก (M9) ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าก่อสร้างและงานระบบ 51,782 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 4,253 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการร่วมลงทุน PPP Net cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี

ส่วนแนวเส้นทางโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯด้านตะวันตก มีจุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับ บางขุนเทียนเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์หมายเลข 9 ด้านทิศใต้, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมาย เลข 82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้วและทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง- วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศเหนือ ผ่านทางรถไฟสายแม่กลองมีทางขึ้น-ลง พระราม 2 ทางขึ้นเชื่อมกับถนนเอกชัย ถนนกัลปพฤกษ์ถนนเพชรเกษม ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ถนนบรมราชชนนี ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และถนนนครอินทร์ ทางแยกต่างระดับบางใหญ่เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี จากนั้นขนานไปกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงผ่านสถานีตลาดบางใหญ่ สถานีคลองไผ่ บางบัวทองและสิ้นสุดโครงการบริเวณห่างจากทางแยกต่างระดับบางปะอิน

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ด้านความคืบหน้าโครงการโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางประอิน (M5) หรือส่วนต่อขยายดอนเมืองโทลล์เวย์ ระยะทาง 22 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท ปัจจุบันกรมฯอยู่ระหว่างสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการลงทุนของโครงการฯ แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากนั้นกรมฯจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมพิจารณาได้เร็วๆนี้ และเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายใน 30 วัน คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน(บอร์ดพีพีพี) จะพิจารณาผลการศึกษารูปแบบการลงทุนดังกล่าวภายในปลายปี 2565 หรือช้าสุดภายในต้นปี 2566 และเริ่มกระบวนการประกวดราคาและรายงานผลการคัดเลือกเอกชน ร่วมทุนต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในช่วงต้นปี 2566 หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี เปิดให้บริการปี 2569

ขณะเดียวกันโครงการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) แล้ว โดยโครงการฯดังกล่าวจะใช้รูปแบบการร่วมลงทุน PPP Gross Cost อายุสัญญาสัมปทาน 30 ปี

สำหรับโครงการส่วนต่อขยายดอนเมืองโทรล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน มีจุดเริ่มต้นโครงการเป็นการก่อสร้างทางยกระดับต่อเนื่องจาก Dead End Structure เดิมของทางยกระดับอุตราภิมุข บริเวณ กม.33+924 ของถนนพหลโยธิน และจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม.51+924 ของถนนพหลโยธิน ระยะทาง 18 กิโล เมตร (กม.) และมีทางยกระดับ (Ramp) เชื่อมไปยังทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และทางหลวงหมายเลข 32 ระยะทาง 4 กม. รวมระยะทางโครงการฯ ส่วนต่อขยาย 22 กิโลเมตร (กม.) กำหนดให้มีด่านเก็บค่าผ่านทาง ทางขึ้น-ลงรวม 8 แห่ง ประกอบด้วย 1.ด่านรังสิต 1 2.ด่านรังสิต 2 3.ด่านคลองหลวง 4.ด่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5.ด่านนิคมอุตสาห กรรมนวนคร 6.ด่านมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 7.ด่านประตูนํ้าพระอินทร์ และ 8.ด่านแยกต่างระดับบางปะอิน

19/5/2565  ฐานเศรษฐกิจ (19 พฤษภาคม 2565)

ช่องยูทูปของ iCONS