info@icons.co.th 02 810 8892-6 44.200.94.150

FPL มั่นใจ “พระราม 4 คอร์ริดอร์” มีศักยภาพกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

Residential News / ข่าวหมวดที่พักอาศัย

กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เปิดเผย การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสบนถนนพระราม 4 ทำเลศักยภาพกลางใจเมืองของการเติบโตในอนาคต คือวงแหวนสีน้ำเงิน หรือเส้นทางวิ่งของรถไฟฟ้า MRT ชู 6 ปัจจัยหนุนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน มั่นใจโครงการมีศักยภาพอันล็อกกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย

วันที่ 20 มีนาคม 2567 ที่ รร.พูลแมน คิงพาวเวอร์ รางน้ำ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ จัดสัมนา “PRACHACHAT BUSINESS FORUM ฝ่าพายุความเปลี่ยแปลง” โดยมี นายปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด หรือ FPL ร่วมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “The new chapter ธุรกิจไทย (ในวันที่โลกไม่เหมือนเดิม)” ได้บรรยายในตอนหนึ่งว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เปรียบเสมือนอยู่ในอุโมงค์ที่ไม่รู้ว่าแสงปลายทางอยู่ตรงไหน

แต่เมื่อออกจากอุโมงค์แล้วก็เหมือนกับเข้าไปสู่ในพายุที่ถือว่าเป็นความท้าทายของวงการธุรกิจอสังหาฯ อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นฐานดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น พื้นฐานของการเติบโตที่ช้าลงของทุกๆส่วนของภูมิภาคในโลก

กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC ในฐานะ Private investor ได้ร่วมกับเฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ ดึงประสบการณ์และความสามารถที่มีอยู่ เข้ามาพลิกเกมอสังหาริมทรัพย์ไทยร่วมพัฒนาไปกับเมือง มองว่าการปรับกลยุทธ์แผนธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐเป็นเรื่องที่สำคัญ หากแผนธุรกิจไม่ตรงกับแผนของนโยบายของประเทศจะมีความท้าทายกับการลงทุนอสังหาฯ สูงมาก

ทั้งนี้ นโยบายของกทม. เองก็ได้มองเรื่องเหล่านี้ไว้ บริษัทฯ มีการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมมือกับคอร์ริดอร์ที่เรียกว่า “ถนนพระราม 4” เป็นตัวแบบสำคัญที่สร้างความเชื่อมั่นและยังสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มองเป้าหมายของการปรับยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นมหานครแห่งเอเชีย

การพัฒนาในระยะเวลา 20 ปี จะเห็นว่าเมืองได้พัฒนาไปกับโครงสร้างพื้นฐานทาง mass transit และเติบโตไปกับการขยายของ BTS และ MRT บริษัทฯ เห็นศักยภาพของคอร์ริดอร์กลางเมืองที่เชื่อว่าจะเป็นคอริดอร์ที่มีศักยภาพของการเติบโตนั่นก็คือวงแหวนสีน้ำเงิน หรือเส้นทางวิ่งของ MRT ที่เปรียบให้เป็น Circle LINE ของกรุงเทพฯ และเป็นลูปที่เชื่อมต่อของเมืองทางฝั่งธนกับทางตอนเหนือ

การพัฒนาโครงการบนถนนพระราม 4 เป็นแนวคิดที่มองไว้ตั้งแต่กลุ่มบริษัทฯ รับผิดชอบในการบริหารพื้นที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งในการพัฒนาก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐ เนื่องจากถนนพระราม 4 มีการพัฒนาบนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาในพื้นที่ของทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และพัฒนาในพื้นที่ของกระทรวงการคลังหรือภายใต้กรมธนารักษ์ จึงมีความเชื่อมั่นว่าเป็นคอร์ริดอร์ที่มีความสำคัญต่อเมืองและประเทศ

ในฐานะนักลงทุนมองว่าโครงการทั้ง 7 โครงการที่อยู่ในแผนที่จะสามารถเติมเต็มให้กับเมืองอย่างไรบ้าง อาทิ โครงการ “สามย่านมิตรทาวน์” เป็นโครงการที่อยู่ในจุฬาฯ เป็นอาคารมิกซ์ยูสและพาณิชย์ที่เป็นพื้นที่ที่ไม่จำหน่ายแอลกอฮอล์แต่กลับตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่เป็น direct cashment มีนักเรียนกว่า 50,000 คน ในอนาคตก็จะพัฒนาให้เป็น Learning life library

โครงการ Silom edge เป็นโครงการบนหัวมุมถนนเล็ก ๆ แต่ได้รับความเชื่อมั่นในการเข้าไปปรับปรุงซึ่งถือเป็นการ turn around ของบริษัทฯ ที่ได้ทดสอบเรื่องของ 24 hour retail ทดสอบเรื่องของการทำ Flex office space และ ตึก FYI Center ที่อยู่ตรงหัวมุมคลองเตยเป็นพื้นที่ที่พรูฟโลเคชั่นของเกรด A Office ใหม่ ซึ่งก็สามารถตอบโจทย์ความสะดวกสบายและความเป็น irreplaceable ทั้งหมดนี้เป็น 5 connected MRT station

ชู 6 ปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

1. Green public space พื้นที่สาธารณะสีเขียว ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ดูดีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการลดความร้อน และการเกิดประโยชน์ในการใช้สอยพื้นที่ที่ดีขึ้น ในอนาคตพื้นที่สีเขียวไม่ใช่ออกแบบให้เป็นต้นไม้ แต่ออกแบบให้เกิด eco system หรือการสร้างระบบนิเวศน์ให้กลับเข้ามาสู่เมืองอย่างยั่งยืน

2. Smart Cities ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีภายในโครงการที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประหยัดพลังงานและทำให้ผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

3. Waste management การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้และทรัพยากร การนำขยะจากการก่อสร้างกลับมารีไซเคิล การเปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นปุ๋ย และระบบการจัดการน้ำรีไซเคิล 75% ของน้ำที่ใช้แล้วถูกนำกลับมาใช้ใหม่

4. Inclusivity การมีส่วนร่วม คือการทำให้โครงการมิกซ์ยูสมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

5. Vibrancy ความมีชีวิตชีวา สร้างถนนกว้าง 33 เมตรและถนนยาว 250 เมตร มีต้นไม้รายล้อมสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ในโครงการ

6. placemaking อัตลักษณ์ของพื้นที่ มีการสร้าง Art loop เส้นทางศิลปะระยะทางรวม 2 กิโลเมตรในพื้นที่โครงการ

“เรามีศักยภาพที่เชื่อว่าคอร์ริดอร์บนถนนพระราม 4 ตอบโจทย์กับการลงทุนและการเชื่อมเมืองให้เกิดศักยภาพและมากกว่านั้นคือ เราเชื่อว่าถนนพระราม 4 จะเป็นมิกซ์ยูส CBD ที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมเพราะเป็นแกนเชื่อมกับเยาวราช เชื่อมต่อกับเกาะรัตนโกสินทร์และยังมีสิ่งที่นักท่องเที่ยวมาแล้วน่าจะเกิดประโยชน์ เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยอีกมาก” นายปณต กล่าว

20/3/2567  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ( 20 มีนาคม 2567 )

ช่องยูทูปของ iCONS